ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ

ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ ยินดีรับใช้ "ใครมีอะไรดีมาแลกมาเปลี่ยน ความรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ยิ่งได้ครับผม" บ็อกๆๆๆๆ

คลังบทความของบล็อก

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัญหา 3G

ปัญหาทางด้านความไม่สอดคล้องทางกฎหมาย

พรบ เก่ามี 2 องค์กรจัดสรร แต่รัฐธรรมนูญใหม่ระบุให้มี 1 เท่านั้น
แต่เดิมการจัดสรรกิจกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานซึ่งมีองค์กร ที่ผูกขาดในประเทศไทยเพียง 2 องค์กรเท่านั้นนั่นคือ TOT ( ได้รับค่าสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก AIS ) และ CAT ( ได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก DTAC และ TRUE) ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเน้นการตรวจสอบโดยหน่วยงานอิสระของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติใน มาตรา 40 และทำให้เกิด พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ กิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 อันนำมาซึ่ง การกำเนิดขององค์กรอิสระที่ชื่อว่า กทช (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ส่วน กสช.นั้นมีปัญหาเรื่องการคัดสรรทำให้ไม่สามารถจัดตั้ง ขึ้นได้ ( เกิดกรณี NGOs ฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีตัว แทนจากสถานีโทรทัศน์ในสังกัดของฝ่ายความมั่นคงเข้าร่วมเป็นกรรมการ ทำให้อาจไม่เป็นองค์กรอิสระที่แท้จริง ) ส่วนระบบสัมปทานคลื่นความถี่นั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบบ “ใบอนุญาต”แทน
ส่วนคำว่า องค์กรอิสระ นั้นจะต้องสามารถเลี้่ยงตัวเองได้ไม่พึ่งรัฐบาล ในกรณีนี้ กทช. เองได้รับเงินจากค่าธรรมเนียมการจัดสรรคลื่นความถี่จากเอกชนอยู่แล้วครับ ( ในปี ปี 2551 กทช มีรายได้ปีละ 3,774,860,527 บาท ) และคณะกรรมการที่อยู่ภายในจะต้องคัดสรรค์อย่างดีไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคลื่นความถี่ในไทย รัฐและทหารเป็นเจ้าของสัมปทานอยู่แทบทั้งหมด ดังนั้นจึง“ไม่ควร”มี ตัวแทนจากรัฐและทหารเข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วยเช่นกัน
ต่อมาเกิดรัฐประหารและกำเนิดรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดียว ทำให้ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ข้างต้นนั้นขัดกับ รธน. 50 อยู่ในขณะนี้ที่ระบุว่าต้องมี 2 หน่วยงาน นอกจากนี้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งสร้าง กสทช.ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ติดปัญหาทั้งในเรื่องที่ กสช.ยังไม่ได้ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้
ความเหมือนกันของ รธน 2540 และ รธน 2550 คือการกำหนดให้ความถี่วิทยุเป็นสมบัติ

ของชาติ และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด
ส่วนข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ฉบับปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม แต่ไม่ได้ระบุจำนวนองค์กรที่ชัดเจน ส่วนฉบับปี 2550 ระบุให้มีองค์กรอิสระเพียง 1 องค์กรเท่านั้น นอกจากนี้ยังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้สื่อเพื่อสาธารณะ และให้ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของสื่อได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น …
สำหรับองค์กรอิสระใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คาดกันว่า อาจจะให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) รวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า กสทช. นั้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะจัดตั้งได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถจัดตั้ง กสช. ได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการจัดสรรคลื่นวิทยุด้วย เพราะ กทช. ไม่สามารถจัดสรรคลื่นให้ผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์ได้ มิฉะนั้นจะผิดกฎหมาย
อ่านต่อได้ที่ กสทช. สูญญากาศธุรกิจโทรคมนาคมไทย

ปัญหาที่ 2 Regulator หรือผู้จัดสรรเดิมมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมากกับกฏหมายใหม่

รูปแบบเดิมกับกฏหมายใหม่ยังขัดแย้งกันอยู่ เดิม TOT กับ CAT เป็น regulator ต่อมาเมื่อเกิด องค์กรอิสระอย่าง กทช.ทำหน้าที่นี่แทน TOT กับ CAT จึงกลายเป็น Competitor เหมือนๆกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ดังนั้นหากผู้ให้บริการภาคเอกชนเช่น TRUE และ DTAC ไม่สนใจเทคโนโลยีปัจจุบัน ( ซึ่งยังต้องจ่ายเปอร์เซ็นให้ TOT,CAT อยู่) แต่กลับหันไปใช้ 3G หมด TOT กับ CAT จะขาดรายได้ “แทบจะทั้งหมด” และอาจถึงขั้น “ประกอบกิจการต่อไปได้ยาก” ก็เป็นได้ ซึ่งเดิม TOT ได้เปอร์เซ็นจาก AIS และ CAT ได้เปอร์เซ็นจาก DTAC กับ TRUE อย่างมหาศาล ( พิจารณา องค์กรอย่าง TOT มีพนักงาน 30,000 คนซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายรายเดือนมหาศาลแต่ได้เงินเพียงพอจากการหักจากเอกชน ที่ใช้ความถี่ แต่ TRUE มีพนักงานเพียง 3,000 คน ถ้าเทียบกันแล้วแม้ว่าช่วงแรกๆ TRUE จะโดนคอมเม้นท์เรื่อง Performance เยอะแต่ศักยภาพก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากันมาก )

ส่วนแบ่งตลาดบริการ โทรศัพท์พื้นฐานของ TRUE & TOT ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มาของภาพจาก เว็บไซต์กทช
ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร TOT และ CAT คุณจะยอมปล่อยให้องค์กรของคุณไม่มีรายได้หรือ ? ลองอ่าน TOT/CAT ค้าน พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ กลัวรายได้หายนับแสนล้าน

ปัญหาของสเป็ค 3G เอง

3G เป็นเทคโนโลยีที่มีความลักลั่นระหว่างการเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคม (ซึ่ง กทช ดูแลอยู่แล้ว ) และวิทยุโทรทัศน์ ( ซึ่งยังไม่มีองค์กรดูแลชัดเจน ) เนื่องจากความเร็วและการกระจายสัญญาณแบบไร้สายทำให้สามารถ Stream รายการในรูปแบบโทรทัศน์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าแจกคลื่นความถี่ 3G ไปให้คนอื่น อาจมีปัญหาฟ้องร้องกลับมาจาก TOT ว่าทำโดยไม่ผ่านองค์กรอิสระจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจาย เสียงวิทยุโทรทัศน์ได้ จึงต้องรอ พรบ.กสทช.ข้างต้นผ่านให้ได้ …

ขอขอบคุณและติดตามรายละเอียดตามนี้ครับ
http://www.ipattt.com/2010/3g-thai-problem/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น