ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ

ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ ยินดีรับใช้ "ใครมีอะไรดีมาแลกมาเปลี่ยน ความรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ยิ่งได้ครับผม" บ็อกๆๆๆๆ

คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมสี่ประการของผู้นำ พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง


คุณธรรมสี่ประการของผู้นำ พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง

พระธรรมเจดีย์เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร และเจ้าคณะภาค 13 แสดงพระธรรมเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชินีนาถ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี
     
       สรรพกรณียกิจที่สมเด็จบรมบพิตร และพระราชภคินีบพิตร ทั้งสี่พระองค์ ที่ทรงพระราชอนุสรณ์ถึง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายนั้น ได้ดำเนินไปด้วยดี และสม่ำเสมอ รับพระราชทานแสดงได้ว่า นอกจากเกิดจากพระขันติธรรม และพระบารมีธรรมเป็นที่ตั้ง มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ แก่ประชาชน มิได้มีพระราชกมล ปรารถนาจะได้อะไรจากประชาชนตอบแทน แล้วยังทรงกอรปด้วยพระคุณธรรมของผู้ปกครองอีก สี่ประการ สมด้วย พุทธภาษิตบรรหาร ที่มาในมหานิบาตชาดก ขุททกนิกาย ที่แปลความได้ว่า
     
       
ผู้ปกครอง ผู้เป็นใหญ่ หรือผู้นำสังคมต้องมีคุณธรรม คือ ความขยันหมั่นเพียร ในสิ่งที่เรียกว่า การงานหนึ่ง ความไม่ประมาทหนึ่ง ความมีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ หนึ่ง ความเป็นผู้จัดแจงการงานหนึ่ง ดังนี้
     
       อันคุณธรรมทั้งสี่ประการนี้มีมาแต่โบราณ ท่านวางเป็นหลักการ ใช้กันมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยว่า ถ้าผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารจัดการสังคมทั้งระดับบนและระดับล่าง ปฏิบัติตามคุณธรรมเหล่านี้ ความเจริญรุ่งเรืองความวัฒนาสถาพรของสังคม ประเทศชาติ จึงจะมีได้ เรียกว่าได้ผู้ปกครอง ผู้นำ ผู้บริหารที่มีคุณธรรม และมีคุณภาพ ทีเดียว
     
       การพัฒนาสังคมประเทศชาติที่ต้องล้มลุกคลุกคลานไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร เป็นเพราะผู้ปกครอง ผู้นำ ผู้บริหารสังคม ไร้คุณธรรม และไร้คุณภาพนั่นเอง
     
       
ประการที่หนึ่ง ความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่เรียกว่า การงาน มีอรรถาธิบายว่า ภาวะของน้ำใจ ที่ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมที่จะลุกขึ้นทำงานทุกขณะ คิดไปในทางก้าวหน้าตลอดเวลา กล้าที่จะเผชิญกับความลำบากในการทำงาน ไม่ว่างานนั้นจะสูงหรือต่ำ ธรรมดามนุษย์เรา ไม่ว่าจะอยู่ในเพศภูมิอย่างไร จะเป็นชาวบ้าน หรือชาววัด หากมีความขยันแล้ว เป็นอันว่าขึ้นสู่ทางที่ถูก ความสำเร็จ ความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพย์ ด้วยยศ ด้วยอื่นๆ จะเกิดขึ้นตามมาโดยไม่ยาก เพราะเป็นความจริง ของโลกที่ว่า คนขยันตกอับไม่มี ส่วนคนเกียจคร้านได้ดี ก็ไม่มีเหมือนกัน
     
       เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความขยันมีแต่คุณอย่างเดียว ไม่มีโทษ ส่วนความเกียจคร้านมีแต่โทษอย่างเดียวไม่มีคุณ
     
       ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ปกครองทุกสังคม จะต้องทำใจเสมอว่าตนมีหน้าที่ซื้อความทุกข์ของผู้อยู่ในสังคม หรืออยู่ในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ถึงจะลำบากยากเข็ญก็ต้องมีน้ำอดน้ำทน ฝ่าความยากลำบากไปให้ได้ เพราะก่อนที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งแห่งที่เป็นผู้นำ ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ต้องปลงใจให้ได้ว่าเราจะซื้อความทุกข์ของผู้อยู่ในสังคมนั้นๆ มาสู่ตน และจะขายความสุขของตนให้ผู้อยู่ในสังคมนั้นๆ ถ้าปลงใจอย่างนี้ไม่ได้ หรือใจไม่ยอมปลง กลับคิดว่าเราจะซื้อความสุขของคนในสังคมมาสู่ตน และจะขายความทุกข์ของตนให้ผู้อยู่ในสังคม อย่างนี้แล้วความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่เรียกว่าการงานย่อมมีไม่ได้
     
       การที่ท่านสอนให้ขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่เรียกว่า การงาน ก็แปลว่า ท่านสอนให้รู้จักหน้าที่ และทำตามหน้าที่นั่นเอง ไม่ใช่ขยันนอกหน้าที่ หรือขยันนอกเรื่อง หน่วยงานใดหรือสังคมประเทศชาติใดมีคนประเภทขยันนอกเรื่องอยู่มาก หน่วยงานนั้นหรือสังคมนั้นเติบโตยาก รุ่งเรืองยาก การงานมีแต่คั่งค้าง ไม่ก้าวหน้า และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความขยันหมั่นเพียรนี้ มีลักษณะเดินหน้าเรื่อยไป ไม่หยุด เป็นการกระทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ขยันแบบกิ้งก่า วิ่งไปแล้วก็หยุด วิ่งไปแล้วก็หยุด และไม่ใช่ลักษณะพลุที่สว่างแวบเดียวแล้วก็หมดกัน
     
       ประการที่สอง
ความไม่ประมาท มีอรรถาธิบายว่า ไม่ประมาทในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ กล่าว คือ อย่าเห็นว่าเล็กว่าน้อยในทุกๆ เรื่อง และความหมายอีกประเด็นหนึ่งคือ อย่าเห็นแก่เล็กแก่น้อย แท้จริงในทุกเรื่อง ไม่ว่าดี หรือไม่ดี ได้หรือเสีย ผู้นำ ผู้บริหาร อย่ามองว่า เล็กน้อย เพราะความโตใหญ่ย่อมก่อตัวมาจากเล็กน้อยทั้งนั้น แม้สมเด็จพระบรมศาสดา ก็ทรงสอนพุทธบริษัทเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งในส่วนพระสูตร และส่วนพระวินัย
     
       ปัญหา หรือความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของผู้อยู่ในความรับผิดชอบ ระดับผู้นำ อย่าเห็นว่าเล็กน้อย ต้องเห็นว่ายิ่งใหญ่ เสมอหรือมากกว่าปัญหา หรือความเดือดร้อนของตน แล้วหาทางขจัดปัดเป่า แก้ไขในทางที่ถูกที่ควรต่อไป แต่ถ้าผู้นำเห็นว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย นานวันเข้าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่ง ยากจนเกินกำลังจะแก้ไขก็ได้
     
       อีกอย่างหนึ่ง ตำแหน่งผู้นำ ผู้บริหาร มักจะได้รับการยอมรับ หรือโอนอ่อน ผ่อนตาม จากผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือประชาชนในเรื่องต่างๆ และเป็นที่ไหลมาแห่งลาภผลมากมาย เพียงแต่อยู่เฉยๆ ก็เรียกว่า ตามน้ำ หากไม่ระวังใจ เป็นคนเห็นแก่เล็กแก่น้อย ยิ่งจะประสบกับความวิบัติเร็วขึ้น เพราะความเห็นแก่เล็กแก่น้อยเป็นมารดาแห่งความทุจริตทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อราษฎร์ หรือการบังหลวง ดังนั้น สังคมใด ประเทศใด มีผู้นำผู้บริหารที่ไม่เห็นว่าเล็กว่าน้อย และไม่เห็นแก่เล็กแก่น้อยในทุกเรื่อง สังคมนั้น ประเทศนั้นย่อมหวังความเจริญวัฒนาสถาพรได้ ความเสื่อมย่อมไม่มี
     
       ประการที่สาม
ความมีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ มี อรรถาธิบายว่า หนึ่ง รู้ทางแห่งความเจริญ หมายถึง รู้ก้าว รู้เกาะ และรู้เก็บ ความก้าวหน้า เป็นเครื่องหมายของความเจริญ การก้าวนั้น ถ้าจะไม่ให้พลาด ต้องมีเครื่องเกาะ ทั้งเหตุภายนอกและเหตุภายใน ความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และการปฎิบัติชอบ เป็นเครื่องเกาะ เพื่อป้องกันความผิดพลาด หรือ ลื่นล้ม
     
       ส่วนรู้เก็บ ตรงข้ามกับรู้ทิ้ง รู้ทิ้งใช้ไม่ได้ ส่วนรู้เก็บเป็นเรื่องสำคัญ
     
       สอง รู้ทางแห่งความเสื่อม หมายถึงรู้กัน รู้แก้ ความเสื่อมไม่มีใครชอบ ต้องรู้กัน แต่บางครั้ง ทั้งที่รู้กันก็ยังกันไม่ไหว จึงต้องรู้แก้ ทั้งรู้กัน รู้แก้ ต้องไปด้วยกันเสมอ
     
       สาม รู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์ หมายถึงรู้เท่าทันทั้งทางได้ทางเสียแท้จริง เรื่องได้เรื่องเสียนี้มีอยู่ประจำโลก ได้ไม่มีเสีย หรือเสียไม่มีได้ เห็นจะไม่มีแน่ ส่วนใครจะได้ ใครจะเสีย หรือสิ่งใดได้มา สิ่งใดเสียไปนั้น เป็นอีกเรื่อหนึ่ง โบราณท่านสอนให้เทียบเคียงดู คือเทียบได้ เทียบเสียในการกระทำอะไรลงไปตามหน้าที่ ถ้าเป็นการเสียเพื่อได้ควรทำ เช่น ชาวนาลงทุนเอาข้าวไปหว่านในนา แน่นอนต้องเสียพันธุ์ข้าวในเบื้องต้น แต่เป็นการเสียเพื่อได้ข้าวในภายหน้า ส่วนการได้เพื่อเสียเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ตัวเราได้แต่คนอื่นต้องเสียผลประโยชน์มหาศาล ผู้นำผู้บริหาร ไม่ควรจะทำเลย
     
       ประการที่สี่
การจัดแจงการงานดี มีอรรถาธิบายว่า ทำงานรวดร็ว เรียบร้อยได้ผลงาน เพราะมีคุณสมบัติสองอย่าง กล่าวคือ สามารถทำหนึ่ง สามารถจัดหนึ่ง การงานจึงไม่เสียหาย ไม่เสียเวลาทำงาน ทำได้เหมาะสม ไม่สักแต่ว่าทำ ความสามารถทำ และความสามารถจัด เป็นหลักสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในกิจการทั้งปวง ผู้นำหรือผู้บริหาร ต้องทำได้ ด้วย ต้องจัดได้ด้วย ถึงคราวทำก็ทำได้ ถึงคราวจัดก็จัดได้ เรียกว่ามือเก่ง ปากเก่ง มือทำได้ ปากสั่งได้ บุคคลบางคนสามารถจัดได้ คือสามารถแนะนำได้ว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ แต่พอให้ลองทำดู ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น เข้าตำราที่ว่าดีแต่พูด
     
       การจัดแจงการงานดีนั้น ต้องอาศัยการฝึกฝน ขยันทำงาน หาความรู้ ความชำนาญในการทำงานนั้น เป็นคนสู้งาน ไม่หนีงาน เพราะคนหนีงาน มักเป็นคนเขลา หนีความรู้ หนีความชำนาญ ที่ตนควรมีควรได้นั่นเอง ความเป็นผู้สามารถทำได้ด้วยตนเอง เป็นการแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัว ส่วนความเป็นผู้สามารถจัด เป็นการแสดงศักยภาพนั้นให้ปรากฏแก่ผู้อื่น ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง จึงไม่ควรมองข้ามคุณธรรมข้อนี้
     
       จริงอยู่ อันกลไกของการบริหาร การปกครองนั้น มีผู้รู้แสดงทัศนะว่าจะให้ตรงอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ต้องคดบ้าง งอบ้าง ตามวิสัย และจังหวะ ไม่ควรตำหนิว่าเป็นเรื่องไม่หมาะไม่ควรไปเสียทั้งหมด เพราะในเมื่อการคด การงอนั้น ดำเนินไปโดยแยบคาย มุ่งหมายประโยชน์ส่วนรวม ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลักสำคัญ ดังคำประพันธ์ของนักปราชญ์ที่ว่าคดเข้าวง ตรงได้เส้น งอเป็นฉาก จะเอ่ยปาก ติกันไม้อันไหนไม้สามอันนี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะติไม้อันไหนได้ จะติว่าคด ก็คดเข้าวง จะติว่าตรงก็ตรงได้เส้น จะติว่างอ ก็งอเป็นฉาก จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำ ผู้บริหารผู้ปกครอง ควรพิจารณา
     
       
คุณธรรมทั้งสี่ประการ ดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามานี้ เป็นกลไกการปกครอง การบริหาร ที่โบราณท่านนำมาอบรมสั่งสอนเพื่อเป็นทุนไว้ในใจของผู้ปกครอง ผู้นำสังคม ตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง หากผู้นำ ผู้ปกครองทุกสังคม สามารถปฏิบัติตามได้ เชื่อว่า ความเจริญ รุ่งเรือง ความมั่นคง ความมั่งคั่ง ความวัฒนาสถาพร จะเกิดมีได้อย่างแท้จริง
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000071244 

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

เรียนเชิญเหล่าพี่น้องป.โท ร่วมพบปะสังสรรค์ที่หัวหินครับ

หลักๆ คือไปพักบ้านครูหนุ่ยนะครับ เลขที่ 1/43 ซอยหัวหิน 33(หน้าเพลินวาน) เวลาคือหลังจากอบรมเขียนบทความเสร็จ 26 มีนาคม 2554 บ่ายๆ ก็บึ่งไปที่หัวหิน อาหารที่เตรียมไว้บ้างนะ ก็คือทะเลย่าง เครื่องดื่มน้องตุ๊กติ๊กจะหิ้วมาบางส่วน อื่นๆ ก็แล้วแต่เพื่อนๆ นะครับ  กำหนดคือบ่ายวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม ตอนกลับไม่กำหนดครับ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะลุกขึ้นหรือลุกไม่ขึ้น เรื่องที่นอนที่มีอยู่ 3 ห้องนอน(แอร์ครบ) แต่มี 2 เตียง ที่หนอน หมอนมุ้ง อาจไม่พอ ใครพอมีถุงนอน เต็นท์ สามารถกางในห้องโถง ระเบียง หรือตามอัธยาศัย หากตั้งใจว่าจะไม่นอนก็ยิ่งดีจ้า อย่าลืมนะครับ เดี๋ยวก็จะไม่ได้เจอกันบ่อยๆ แล้วนะ
เพิ่มเติมแผนที่เดินทางด้วยครับ คลิกเลย
https://sites.google.com/site/baanplangpatara/

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

รายการอาหารที่พี่ยิ้ม พี่อ้อยไปประสานมานะครับ

แจ้งเพื่อสมาชิก ป.โททั้งหลายทราบ ครับผม
รายการอาหาร 
1. ออร์เดิฟเย็น 
2. ปอเปีี๊ยะกุ้ง
3. ยำกระเพาะปลา
4. หมูอบราดน้ำเกรวี่
5. น้ำพริกลงเรือ
6. ไก่ผัดเม็ดมะม่วง
7. ปลากระพงเปรี้ยวหวาน
8. แกงเผ็ดเป็ดย่าง
9. เคาน์เตอร์สลัด
10. ข้าว
11. ขนมไทย
12. ผลไม้
เป็นบุฟเฟต์ ราคาต่อหัว 60 คนขึ้นไป หัวละ 360 เครื่องดื่ม 60 บาท ค่าบริการ 10%  
คาราโอเกะ  500 บาท   อาหารเติมให้ภายใน 3 ชั่วโมง 
นักศึกษา 41 คน  อาจารย์ 12   พระ 7  รวม 60  คน  

รบกวน อ.สมศักดิ์  comfirm ด่วน เพราะต้องจองล่วงหน้า 3 วัน และพี่จะต้องออกบัตรเชิญ อาจารย์ด้วย


วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประกาศถึงเพื่อนที่รักทุกคน เรื่องจัดงานวันที่ 12

ได้รับแจ้งจากประธานสมศักดิ์ว่า พี่ยิ้ม พี่อ้อยและคณะได้ติดต่อที่ยกยอเรียบร้อยนะครับ อาหารบุฟเฟ่ + เครื่องดื่ม+ผลไม้ + สถานที่ + คาราโอเกะ พร้อมจัดโต๊ะ VIP สำหรับอาจารย์ 2 โต๊ะ โต๊ะเลี้ยงพระ 1 ชุด พวกเราทั้งหมด 43 คน อาจารย์ประมาณ 10 up พระสงฆ์ 7 รูป ค่ารายหัวๆ ละ 650 บาท ดังนั้นรวมอย่างอื่นๆ ด้วยก็เบ็ดเสร็จคนละ 700 บาทนะครับ ไม่อยากให้เพื่อนๆ ขาดเลยในวันนั้น ไม่อยากติด I ใครเลยจะบอกให้..........รักเพื่อนๆ นะครับ ขอให้จบทุกคนในซัมเมอร์นี้นะครับ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม

ผลการประชุมกลุ่ม ระดมสมองเรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน  เปิดโรงเรียนสู่สากล
1. พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นนานาชาติ
2. พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล
3. ฝึกทักษะการคิดที่มีคุณภาพ
4. เน้นความเป็นไทย
5. ภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
---------------------------------------------------------
กลุ่มที่ 1  พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นนานาชาติ
ตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO โดยในศตวรรษที่ 21 ได้กำหนดให้ทุกประเทศได้มีการพัฒนาและใช้หลักสูตรการศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้ Learn to know , Learn to be , Learn to do, เพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ และ Learn to live together  เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลโลก  จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสมชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะกระบวนการนาหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทางหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ
โรงเรียนมาตรฐานสากลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกโดยมุ่งหวังที่จะให้โรงเรียนได้พัฒนาต่อยอดคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะ ทักษะและความรู้ พื้นฐานที่จาเป็นในการดำรงชีวิต การพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติอันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้จะต้องพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิด  1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสาร 2  ภาษา  3. ล้ำหน้าความคิด  4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์  5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อ สังคมโลก
โรงเรียนจึงควรใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงสภาพความพร้อม จุดเน้น ของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนสาระที่เป็นสากล จึงสามารถจัดได้ทั้งเป็นหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานทั้ง 8 สาระ เช่น ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge: TOK) ความเรียงชั้นสูง (Extended- Essay) โลกศึกษา(Global Education) สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ (CAS: Creativity, Action, Service) สามารถนำไปในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในส่วนของ ชุมนุม ชมรม หรือ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2  อีกหนึ่งภาษาสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายและควรส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่ 2 และ 3 คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นที่เหมาะสม อย่างจริงจัง  โดยต้องเริ่มตั้งแต่อนุบาล-มหาวิทยาลัย  และต้องให้ความสำคัญกับสื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาต่างประเทศมากขึ้น  รวมทั้งต้องพัฒนาครูให้ก้าวไป สู่ มาตรฐานสากลด้วย

กลุ่มที่ 2 พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล
รูปแบบการบริหารและพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล  มีหลายรูปแบบและมีแนวทางการบริหารที่หลากหลาย อาทิ
1. รูปแบบโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) เป็นโรงเรียนในโครงการที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมีความมุ่งหวังไว้ว่า นักเรียนมีศักยภาพ  เป็นพลเมืองโลก  โดยมีโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศรวม 500 โรงเรียน ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในการต่อยอดให้บรรลุวัตถุประสงค์ โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 ที่ประกาศโดยสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ประกาศเจตนารมณ์ข้อหนึ่งไว้ว่า โรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ(TQA) เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณการเชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมศาสนา และการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
2. รูปแบบโรงเรียนสองภาษา (Bilingual School) เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะทางภาษาของผู้เรียน และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความผสมผสานเป็นสากล
3. รูปแบบโรงเรียนนานาชาติ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบโดยใช้หลักสูตร
ต่างประเทศหรือหลักสูตรต่างประเทศ ที่ปรับรายละเอียดเนื้อหาวิชาใหม่หรือหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเองที่ไม่ใช่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยไม่จำกัด  เชื้อชาติ  ศาสนา  และไม่ขัดต่อศีลธรรมความมั่นคงของประเทศ
            4. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนแบบบูรณาการหลากหลายภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และอื่นๆ เป็นต้น โดยแทรกภาษาต่างๆ ไปกับบทเรียน บทสนทนา การทักทายกันในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
สรุป การเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปัจจุบันได้มีโรงเรียนเอกชนในประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว ในภาคส่วนราชการก็ได้มีโรงเรียนมาตรฐานสากลขึ้นมา ในแง่การบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะสามารถพัฒนาโรงเรียนให้เข้าสู่มาตรฐานสากลได้หรือไม่ อีกทั้งเรื่องบริหารจัดการของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ต้องระดมสรรพกำลังทั้งกำลังคน กำลังทรัพยากรทั้งมวล ให้ครูและผู้บริหารเข้าใจระบบการบริหารตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานแห่งชาติ(Thailand Quality Award : TQA) และเข้าใจทฤษฎีการบริหารองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) สามารถนำตัวชี้วัดต่างๆ มาใช้ในบริหารจัดการโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 3 ฝึกทักษะการคิดที่มีคุณภาพ
ทำอย่างไรให้เด็กคิดอย่างมีคุณภาพ
1.       การใช้สถานการณ์จำลอง
2.       การใช้วรรณกรรม เช่น นวนิยาย
3.       การให้เด็กรู้จักตั้งคำถาม
4.       ต้องส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
5.       ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
6.       ใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน
7.       ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา
8.       ฝึกการคิดโดยใช้ความเรียง
  สรุป  สิ่งที่ต้องเน้นเกี่ยวกับทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ คือ
-          กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
-          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
-          ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน

กลุ่มที่ 4  เน้นความเป็นไทย
ในการปลูกฝังคุณธรรมให้กับเยาวชน  คือนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ นั้น  ทางสมาชิกกลุ่ม  ได้คิดหาแนวทางเพื่อปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน  เพื่อที่จะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดประตูสู่อาเซียน  เปิดโรงเรียนสู่สากล  เพื่อให้เยาวชนของชาติได้เตรียมรับกับอิทธิพลของวัฒนธรรมของต่างประเทศ ที่จะหลั่งไหลเข้ามา เมื่อมีการเปิดกว้างในเรื่องของการศึกษามากยิ่งขึ้น  แต่เพื่อให้เยาวชนของเรานั้น สามารถที่จะรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามาได้  แต่ก็ต้องคง และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติไว้ด้วย   จากการระดมความคิดของสมาชิกกลุ่ม ก็ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้
1.       เอกลักษณ์ไทย
1.1  การแต่งกาย  การแต่งกายของไทยเรานั้น เราจะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนคนไทยแท้ ๆ ถ้าเป็นหญิงสาวก็จะนุ่งผ้าถุงเป็นหลัก   ซึ่งการนุ่งผ้าในลักษณะอย่างนี้ทำให้มารยาททางกายก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม  จะทำอะไรก็ไม่สามารถที่จะทำได้รวดเร็วหนัก  เป็นการสร้างอุปนิสัยที่ไม่หุนหันพลันแล่น  เป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่อารมณ์เย็น เป็นต้น 
1.2  การใช้ภาษาไทย  ภาษาไทยของเราก็มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตัวอักษร  การออกเสียงหรือความไพเราะทางด้านโคลงฉันท์ กลอนต่าง ๆ  จะมีอัตตลักษณ์ในเรื่องของแบ่งชนชั้นได้อย่างชัดเจน  เช่น เมื่อต้องใช้กับพระมหากษัตริย์  หรือกับพระสงฆ์ก็มีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกัน  และคำพูดของคนไทยนั้นยังสามารถบ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้พูดได้อีกด้วย  คือถ้าเป็นคนที่มีสัมมาคารวะก็จะพูดจาไพเราะ  ไม่ว่าจะพูดจากับใครก็แล้วแต่  ถ้าคนที่ไม่มีสัมมาคารวะ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน การที่จะพูดจาได้ไพเราะ หรือที่เราเรียกว่า พูดให้มีหางเสียงนั้นก็จะเป็นเรื่องยาก  ดังนั้นควรหันมาให้ความสนใจกับการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย  เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักในภาษาของประเทศไทย
1.3  อาหารไทย  เราจะเห็นว่าในสมัยก่อนเราจะมีกิจกรรมในครอบครัวทำกันอย่างมากมายทีเดียว  ครอบครัวของคนไทยที่อยู่ตามชนบทจะต้องทำอาหารกินกันเอง  การที่จะซื้อกับข้าวมาทานกันนั้นเป็นเรื่องยาก   เมื่อจะต้องทำกับข้าวกินกันเอง ก็ต้องมีคนมาช่วยกันทำ ยิ่งครอบครัวไหนมีลูกหลายคน  ตอนเย็นเมื่อถึงเวลาทำอาหารก็ต้องมาช่วยกันทำ  เช่นจะทำแกงอะไรซักอย่าง ก็ต้องให้พ่อแม่มาเป็นผู้ควบคุม  คอยบอกส่วนผสม แต่คนที่ลงมือปฏิบัติก็ต้องเป็นลูก ๆ  ดังนั้นอาหารไทยจึงสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น  อาหารไทยก็จัดเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นไทย  มีวัฒนธรรมการกินที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในครอบครัว  ประเด็นนี้ก็จะทำให้คุณธรรม และจริยธรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของชาวไทยนั้นมั่นคงมากยิ่งขึ้น
2.  วัฒนธรรมประเพณี
 2.1  ลอยกระทง  ประเพณีลอยกระทง  ในคติความเชื่อของคนไทยนั้นเป็นการขอขมา หรือขอโทษแม่น้ำคือพระแม่คงคา ที่เราอาจจะเคยทำอะไรไม่ดีลงในแม่น้ำ  อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  ประเพณีลอยกระทงนี้ ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของแม่น้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่ให้ความสนใจกับประเพณีลอยกระทงนี้ แสดงว่ายังมีความกตัญญูกตเวที  เป็นกลอุบายที่ทำให้เราคิดถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ธรรมชาติในทุก ๆ สิ่งว่ามีคุณประโยชน์กับเรา  ให้ชีวิตเรา  ให้อาหารแก่เรา เราควรต้องมีการกตัญญูกตเวที  ให้ความเคารพ  นี่คือการสอนให้รู้จักอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ และจะทำให้เรามีความสุขในการดำเนินชีวิต 
2.2   แห่เทียน  ประเพณีแห่เทียน ก็เป็นการแสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชนที่ต้องมีใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะสร้างสรรค์เทียนให้มีความสวยงาม เพราะต้องใช้ทั้งกำลังกาย และกำลังสติปัญญาในอันที่จะทำให้เทียนมีความสวยงาม  และต้องนำไปถวายไว้ที่วัด  เป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม อีกทั้งยังเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา  ทำให้เกิดความสามัคคีทั้งบ้านและวัด  ให้พระศาสนาเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจของเยาวชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

3. สถาบันชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์ 
ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่า เด็กไทยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศนั้นมาก  จนทำให้ความรู้สึกรักในประเทศชาตินั้นหายไป  อะไรที่เป็นของไทย ของคนไทย  เยาวชนไทยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย  นั่นเป็นเพราะว่าไม่ได้ปลูกฝังให้รักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ยกตัวอย่างเช่น  เด็กนักเรียนไทยไม่ได้ร้องเพลงชาติไทยด้วยตนเอง  เปิดจากแผ่นซีดีแล้วให้เด็กร้องตาม  เมื่อทำอย่างนี้มาก ๆ เข้า ก็จะทำให้เด็กไม่รู้สึกซาบซึ้งในบทเพลงประจำชาติ  ความรักชาติก็จะไม่บังเกิด เพราะไม่ได้รับรู้ถึงความยากลำบากของบรรพชนที่รักษาประเทศชาติไว้ได้   ปัจจุบันมีการยกเลิกการสวดมนต์ก่อนเข้าเรียน หรือในตอนเย็นวันศุกร์ ทำให้จิตใจของเด็กเกิดความห่างเหินจากพระศาสนาและมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาน้อยลง ทำให้จิตใจกระด้างมากขึ้น เพราะไม่กลัวผลของการกระทำไม่ดี
4. สังคมและสิ่งแวดล้อม (บ้าน วัด  โรงเรียน)
                ในอดีตวัด บ้าน โรงเรียน นั้นมีความสัมพันธ์เป็นวงเดียวกัน นั่นก็คือ  มีวัดเป็นศูนย์กลาง  บ้านจะทำกิจกรรมอะไรก็จะมาใช้พื้นที่ของวัด  และโรงเรียนก็อยู่ในเขตวัด  ซึ่งทำกิจกรรมอะไรก็จะใช้พื้นที่ของวัดเป็นส่วนมาก  ดังนั้นเมื่อทำกิจกรรมร่วมกันบ่อย ก็ทำให้วัด บ้าน และโรงเรียนเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ชุมชนก็มีความสงบสุขมากขึ้น จนบางครั้งที่มีเรื่องเกิดขึ้นในบ้าน  ก็สามารถระงับได้ที่วัด เพราะทุกคนให้ความสำคัญ ความเคารพต่อวัด  เมื่อวัดเข้ามาไกล่เกลี่ย ก็ยอมรับได้  นี่คือวงแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง วัด บ้าน และโรงเรียน
5.  ประวัติศาสตร์ชาติไทย
                ประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรานั้น  เมื่อเยาวชนรุ่นใหม่ได้อ่าน หรือวิชานี้ถูกบรรจุอยู่ในวิชาเรียนก็ทำให้เด็กได้ซึมซาบถึงความบากบั่นของบรรพบุรุษที่ได้รักษาประเทศชาติไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยมาจนถึงทุกวันนี้   แต่ปัจจุบันวิชาประวัติศาสตร์ไทยได้ถูกลบเลือนและไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างหลักสูตรให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียน จึงทำให้เด็กและเยาวชนขาดความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ชาติ ไม่รู้สึกรักและหวงแหนประเทศชาติเท่าที่ควรจะเป็น  ประวัติศาสตร์เรื่องบ้านบางระจันก็ดี  เรื่องท้าวย่าโมก็ดี และอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังความรักชาติให้เกิดในตัวของเยาวชนได้
                จากแนวความคิดที่ได้รวบรวมกันมานี้ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า  เมื่อเราจะเปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล  เราย่อมได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกหรือประเทศต่างเข้ามาอย่างมากมาย  ถ้าเยาวชนของเรามีฐานแห่งความคิดไม่มั่นคง ย่อมทำให้โอกาสที่ประเทศไทยจะถูกวัฒนธรรมของชาติอื่นกลืนหายไปนั้นสูงมาก  เมื่อเป็นเช่นนั้น การปลูกจิตสำนึกในตัวของเยาวชนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมและจริยธรรมหรือความรักชาติ  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปได้ และเข้าสู่อาเซียนอย่างสง่างาม

กลุ่มที่ 5 ภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
1.   ปัญหาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
1.1 ด้านครู
                            - ครูไทย  จำนวนไม่เพียงพอ  สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา  ขาดความรู้  ประสบการณ์  ค่าใช้จ่ายในการจ้าง  ขาดประสบการณ์ด้านทักษะ การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน  ขาดสื่อการสอนที่น่าสนใจ  เน้นไวยากรณ์     
    - ครูต่างชาติ   (สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา และงบประมาณไม่เพียงพอ)
1.2. ด้านผู้เรียน   
    - ขาดทักษะในการสื่อสาร  พื้นฐานด้านภาษา
    - ทัศนคติด้านลบต่อภาษาว่าเป็นสิ่งยาก
    - ความกล้าแสดงออก
1.3  ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร 
   - ไม่สนับสนุนส่งเสริมด้านภาษา  เช่น จัดชั่วโมงการเรียนการสอนน้อยเพียง  1 ชั่วโมง /สัปดาห์
       1.4  ด้านผู้ปกครอง
-          ผู้ปกครองขาดการศึกษา ไม่สามารถสอนภาษาให้บุตรหลานได้
-          ขาดทุนทรัพย์สนับสนุนการเรียนให้กับบุตรหลาน
2.   แนวทางการพัฒนาและวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารที่มีคุณภาพ
1. ด้านครู
    - ผลิตครูสาขาภาษาต่างประเทศให้เพียงพอกับความต้องการและเป็นครูที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
    - อบรม  พัฒนาคุณภาพครู ด้านกระบวนการเรียนการสอน การจัดทำสื่อการเรียนรู้
    - ส่งเสริมให้ครูศึกษาดูงาน หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยจัดครูไปเรียนรู้ในประเทศต้นแบบของการใช้ภาษาที่แท้จริง
    - ให้ค่าตอบแทนสูง
    - เน้นประสบการณ์ตรง  โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริง  เช่น  จัดโครงการมัคคุเทศก์น้อยเพื่อบริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเพื่อพัฒนาภาษาในการสื่อสาร 
2. ด้านผู้เรียน
    - จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อภาษาอังกฤษ เช่น เพลง  เกม  ภาพ
    - ให้ความรู้พื้นฐานด้านภาษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล
3. ด้านการบริหารจัดการ
    - ควรให้ครูผู้สอนเป็นครูเจ้าของภาษา “  Native  Speaker

สรุปการบรรยาย"เปิดโรงเรียนสู่สากล" คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์


สรุปคำบรรยาย
เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล
โดย นายเกียรติชัย  พงษ์พาณิชย์

                สวัสดีท่านผู้เข้าร่วมการสัมมนา  ถ้าจะเอาอย่างที่อาจารย์ผดุงชาติพยายามเน้นบอกเราถึงการเปิดประตูสู่สากลอะไรต่างๆก็ดี  จะต้องให้ความสำคัญกับภาษา  อันดับแรกก็รู้สึกดีใจและขอบคุณที่ให้โอกาสมาพูดคุยด้วย  ในเรื่องที่น่าสนใจมาก  โดยเฉพาะเห็นด้วยกับอาจารย์ผดุงชาติอย่างมาก  ที่ชื่อหัวข้อเรื่องที่พูดในวันนี้น่าสนใจมาก  แค่ชื่อเรื่องก็ให้ภาพให้ความรู้สึกถึงโลกทัศน์ที่กว้างไกลของพวกเรา  และก็ทันสมัยกับยุคโลกาภิวัตน์ที่ก้าวเข้ามาถึงแล้ว
                โลกาภิวัตน์ถ้าเริ่มแรกเป็นพื้นฐานพวกเราก็คงจะพอตามกันทัน  แต่โลกาภิวัตน์เป็นกระแสหลักซึ่งการศึกษาสมัยใหม่ให้ความสนใจ เพราะโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงอะไรหลาย ๆ อย่าง  อาจจะเป็นฐานของความคิดของการศึกษาสมัยใหม่ต่อไป  ซึ่งเป็นเรื่องที่นักศึกษาปริญญาโท  ปริญญาเอกต้องศึกษา  แต่ถ้าสรุปเรื่องโลกาภิวัตน์นั้น โลกาภิวัตน์มีพลวัตที่เข้มแข็งมาก  และมันก้าวไปอย่างรวดเร็วกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปิดทุกอย่าง ในลักษณะบูรณาการต่อกัน  เป็นไปในลักษณะที่กล่าวกันว่า ไร้พรมแดน  โลกาภิวัตน์ในระยะต่อไปนี้เราจะเห็นในสิ่งที่เป็นอำนาจของความเป็นรัฐชาติ  (Nation state) มันลดน้อยลงไป  แล้วจะมีลักษณะที่เรียกว่า  Global Government  คือ  โลกาภิบาลเข้ามาครอบงำบงการปฏิสัมพันธ์ของประเทศต่าง ๆ มากขึ้น  เช่น  เรื่องของ UN, ASEAN, EU, WTO, World Bank  เป็นต้น  นี่คือโลกาภิบาลที่เข้ามาครอบงำทำลายอำนาจของ Nation  State  ให้ลดน้อยลงไป แล้วกิจการต่าง ๆ ที่เป็นกิจการในปฏิสัมพันธ์ในระหว่างประเทศองค์กรโลกาภิบาลเหล่านี้เข้ามาครอบงำ ชี้นำ  แนะนำ  มีลักษณะปรับเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกรอบกว้างที่เรียกว่า ระเบียบใหม่ของโลก  New World  Order  มันเริ่มเกิดขึ้นมา  นี่คือวิวัฒนาการเริ่มต้นของโลกาภิวัตน์  และเป็นพื้นฐานของการศึกษา  การคิดการปรับเปลี่ยน  Transform ให้ควบคู่เท่าทันกับโลกาภิวัตน์ที่เข้ามา  อาเซียนก็เหมือนกัน  โรงเรียนก็เหมือนกัน  ที่เริ่มก้าวเข้าสู่แนวทางของโลกาภิวัตน์มากขึ้นทุกที    
                เมื่อพูดถึงเรื่องเปิดประตูสู่อาเซียน  ทำให้เห็นว่าการเปิดก็จะทำให้เห็นมากขึ้น  กว้างขึ้น  เปิดประตูสู่อาเซียนเป็นเรื่องซึ่งทำให้เราต้องเรียนรู้เรื่องอาเซียนให้มากขึ้น  อาเซียนเริ่มเกิดมาตั้งแต่ปี 1967 ปี พ.ศ. 2510  จนถึงเวลานี้ก็  44  ปี  ซึ่งเราจะเห็นลักษณะของอาเซียนว่ามีการรวมตัวอย่างหลวม ๆ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งปัจจุบันนี้ขยายตัวออกไป รวมแล้ว 10 ประเทศ  บนพื้นฐานหลายเรื่องด้วยกัน  เช่นการร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน  ไม่ใช่องค์กรที่เน้นหนักทางด้านความมั่นคงเหมือนอย่าง NATO  ซึ่งเกิดมาก่อน  และดำเนินไปในทางที่เรียกว่า ASEAN WAY วิถีทางของอาเซียน  เพราะฉะนั้นหลักสูตรของวิชาที่เกี่ยวกับอาเซียนกำลังเริ่มคิดเริ่มทำกันในหลาย ๆ สถาบันการศึกษา มีเรื่องที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอาเซียนมากทีเดียว  ดังนั้นเราจะเห็นว่าจุดเริ่มแรกของอาเซียนมาอยู่ที่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน  และมีการขยายตัวจนได้เกิดแนวคิด  หมายถึงประชาคมอาเซียน  ในระยะไม่นานมานี้ก็จะเห็นว่าจุดหมายของการรวมตัวเป็นอาเซียน ซึ่งเป็นการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ  ในช่วงนี้เราจะเห็นการทำ FTA  ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน  FTA ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น  FTA ระหว่างอาเซียนกับ  EU  หรือกับประเทศต่าง ๆ มันเกิดขึ้นมากมาย  นี้ก็เป็นไปตามเป้าหมายหลักเดิมของอาเซียน  มีการขยายตัวขึ้นมา มีการพูดถึงแนวคิดในการที่จะสร้างประชาคมอาเซียน  เป็นแนวคิดซึ่งต้องการจะหลอมรวมประชาคมทางด้านความมั่นคง  ด้านเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมขึ้นมา นี้เป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่เกิดขึ้น
               ความคิดเรื่องประชาคมอาเซียน  เป็นเรื่องที่ปรากฏในกฎบัตรของอาเซียน  ที่เรียกว่า  Asian Chatter  ได้มีการประกาศตกลงกันในการประชุมอาเซียนที่ภูเก็ต  สิ่งที่เกิดในอาเซียนหลาย ๆ เรื่อง เป็นความริเริ่มของประเทศไทย  ความริเริ่มการก่อตั้งอาเซียนก็เหมือนกัน เริ่มมาจาก Bangkok Declaration สมัยท่านถนัด  คอนมัน  และอีกหลายเรื่องที่เริ่มจากประเทศไทย   ฉะนั้นเรื่องสำคัญที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนอาเซียนในปัจจุบันมีจุดกำเนินมากจากความริเริ่มของประเทศไทย            เรื่องกฎบัตร Chatter   กฎบัตร Asian    ที่สร้างประชาคมอาเซียนต่าง ๆ ก็เกิดที่ภูเก็ตในปี 2552 นี่เอง  กฎบัตรอาเซียนก็เป็นไปตามแผนปฏิบัติการของเวียงจันทน์   และมีกัวลาลัมเปอร์เดแคล์เรชั่น ที่กำหนดเรื่องการทำกฎบัตรอาเซียน  กับกฎบัตรซิว ของประเทศฟิลิปปินส์ ว่าด้วยแผนแม่บทต่าง ๆ ของกฎบัตรอาเซียน  ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เห็นว่าการสร้างประชาคมอาเซียนมีความเป็นมาอย่างไร จุดประสงค์ในกฎบัตรอาเซียนข้อหนึ่งที่เขียนไว้ชัดเจนว่า  เพื่อส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางซึ่งสู่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องได้รับการส่งเสริมร่วมกันและได้รับผลประโยชน์จากการรวมตัวและการสร้างประชาคมอาเซียนนี้เป็นจุประสงค์สำคัญที่ยกมาให้เห็น  ถึงในกฎบัตรอาเซียนที่ร่างกันขึ้นมาแล้วก็ลองปฏิบัติแล้ว  เพราะฉะนั้นตรงที่บอกว่า  การสร้างประชมคมอาเซียนสำคัญมาก ซึ่งมีหลายเรื่องที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการที่เตรียมจะเป็นประชาคมอาเซียน  มี 34 ประเด็นที่ผมเคยเสนอในที่ประชุมว่า  เพื่อที่จะให้ความพยายามรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้นมันมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะต้องสร้างขึ้นมา      ในแต่ละประเทศสมาชิกต่าง ๆ เพื่อที่จะรวมเป็นสมาคมอาเซียนใน  3  ลักษณะด้วยกัน
                1. Share value   คือการมีคุณค่าร่วมกัน  มีปัจจัยหลายอย่างเหลือเกินในอาเซียนทั้งในส่วนของประชากร  ทั้งในระดับของการต้องการพัฒนา  การศึกษา  การปกครองต่าง ๆ   ถ้าหากจะต้องรวมเป็นประชาคมอาเซียนจะต้องมี Share value  อันใดอันหนึ่งมาร่วมกัน  เช่น Share  Value  ความเป็นประชาธิปไตย  ถ้าเปิดการ Share Value  การปกครองด้วยความเป็นประชาธิปไตย  การบูรณาการเป็นสังคมเดียวกันก็จะง่ายขึ้น  มีตัวอย่างที่เห็นชัดเจนจาก EU   เพราะ  25  ประเทศที่รวมตัวกัน ทุกประเทศมีรูปแบบการปกครองเป็นเดียวกัน คือเป็นประชาธิปไตย  เพราะฉะนั้นการพัฒนา  การบูรณาการ  เพื่อประโยชน์ร่วมกันในประเทศสมาชิก EU  เป็นไปได้ง่าย และก้าวหน้าไปกว่าอาเซียนมาก  ดังนั้นกลุ่มอาเซียนที่ต้องการรวมตัวกัน สิ่งสำคัญที่ต้องสร้างก็คือ  Share  Value   ประเด็นนี้การศึกษาจึงเข้ามามีบทบาท
                2.  Common  Concerns   มีเรื่องซึ่งเป็นประเด็นอันน่าห่วงใยร่วมกัน  จะได้ร่วมมือช่วยเหลือกัน  ประเด็นอันน่าห่วงใยร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาวะแวดล้อมในอาเซียน กรณีไฟไหม้ในอินโดนีเซีย มีผลกระทบมาถึงมาเลเซีย  รวมไปถึงภาคใต้ของไทย  เป็นปัญหาอันหนึ่ง ที่อินโดนีเซียแก้ไขไม่ได้  แต่ประเทศในอาเซียนจะต้องร่วมมือช่วยกัน  ปัญหาที่น่าเป็นห่วงที่เห็นได้ชัดอีกอันหนึ่งคือ ปัญหาการก่อการร้าย  อาชญากรรมข้ามชาติ  การค้ามนุษย์ข้ามชาติ   ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอาเซียนที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง  ซึ่งอำนาจของ Nation State   ไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เป็นประเด็นหลักของโลกได้  หลาย ๆ ประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไข  การแก้ไขปัญหาร่วมกันก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การรวมกันของอาเซียนแนบแน่นสนิทขึ้น ดีขึ้น เร็วขึ้น
                3.   Infrastructure กับ Copiloted   การเชื่อมโยงกันในลักษณะการติดต่อ  โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ  ในขณะนี้จะเห็นว่าการสร้างถนนเพื่อที่จะติดต่อในอาเซียนทำไปในหลาย ๆ  ประเทศ  นี้เป็นการเชื่อมโยงในโครงสร้างพื้นฐาน ทำการติดต่อซื้อขายทำได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมไปถึงด้านการศึกษา ก็มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น
                คนไทยมีความรู้เรื่องอาเซียนน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ  ประเทศลาวเป็นประเทศสมาชิกใหม่ในกลุ่มอาเซียน แต่ก็ยังมีความรู้ในเรื่องอาเซียนมากกว่าไทยเสียอีก   และประเด็นสุดท้ายที่สำคัญอันจะร่วมประเทศอาเซียนให้เป็นหนึ่งได้  นั่นก็คือการทูตภาคประชาชน   และตรงนี้เองที่การศึกษาจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก  รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม            ทั้ง 3 4 ประเด็นนี้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรวมตัวของอาเซียน
                ภายใต้ปัจจัยการหลอมรวมตัวเป็นอาเซียน ก็มีเรื่องของการศึกษาเข้ามา  เพราะฉะนั้น การศึกษาก็เป็นเรื่องหนึ่งที่จะเปิดประตูอาเซียน  และก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล  ในเรื่องของการศึกษาที่ริเริ่มในเอเชียแปซิฟิค  ในระยะเวลาไล่เลี่ยกับอาเซียน อันหนึ่งที่ได้เริ่มมาพร้อมๆ กัน นั่นก็คือ องค์กรมนตรีการศึกษาของเอเชียอาคเนย์   ก็ยังคงดำเนินงานอยู่
                ในส่วนของความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียนโดยตรงเท่าที่เห็นในระดับสูง  มีอยู่ที่เดียวที่ Inter Asian  Education  Institute  ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และตั้งมาไม่กี่ปีนี้เอง  อาเซียนก็มีแนวคิด แต่ยังไม่สามารถทำได้  มีความคิดที่จะตั้งมหาวิทยาลัยของอาเซียนโดยเฉพาะ  ซึ่งเป็นความคิดตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งตั้งมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ  ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   จะเห็นได้ว่า เขาให้ความสนใจกับการศึกษา  เพราะการศึกษาหลอมรวมร้อยรัดที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน   บูรณาการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ด้วย
                การศึกษาในอาเซียนโดยรวมแล้วก็จะไม่ต่างกัน   การจัดการศึกษาในอาเซียนเป็นการสนองตอบต่อความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาเป็นสำคัญ  อย่างเช่นประเทศในฝั่งตะวันตกการศึกษาก็เริ่มที่โบสถ์  ส่วนของเราก็เริ่มที่วัด  ต่อๆ มา ก็ใช้รูปแบบของตะวันตกผสม   ดังนั้นการจัดการศึกษาที่สนองตอบต่อความเชื่อและความศรัทธา ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ  ในหลาย ๆ ประเทศหรือเกือบทั้งหมดของประเทศสมาชิกในอาเซียนเคยตกเป็นอาณานิคมของชาติอื่น ๆ มาก่อนแล้ว  เพราะฉะนั้นพ้นจากประเทศอาณานิคม  มาเป็นประเทศอิสระมากขึ้น  ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการศึกษาของประเทศเหล่านี้ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างชาติ  เมื่อมาเป็นประเทศเอกราช ทำให้ประเทศเหล่านี้ขาดคนที่มีการศึกษาดี ที่จะมาบริหารประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในช่วงนี้ เป็นการแสวงหาคนที่มีการศึกษามาบริหารประเทศ  เป็นการจัดการศึกษา สร้างการเรียนรู้เพื่อหาชนชั้นผู้ปกครองมาบริหารประเทศ  ประเทศไทยของเรา ระยะเริ่มแรกก็จัดการศึกษาเพื่อสร้างคนมาบริหารประเทศ 
                เมื่อหาคนมาบริหารประเทศได้แล้วก็ต้องพัฒนาเศรษฐกิจ  สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ และหลาย ๆ ประเทศก็เน้นสร้างความมั่นคง  หลังปี 1945  ซึ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  2  และก้าวเข้ามาสู่ยุคของสงครามเย็น  สงครามเย็นเป็นการต่อสู่ระหว่างลัทธิสังคมนิยมและประชาธิปไตยเสรี  เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าการศึกษาในตอนนี้จะเน้นในเรื่องของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคงของประเทศมากขึ้น  เน้นป้อนคนเข้าสู่การบริหารประเทศ   เมื่อสร้างคนมาบริหารประเทศแล้ว ก็หักเหห่างออกจากการจัดการศึกษาสร้างคนบริหารประเทศ ก็มาเน้นในด้านเศรษฐกิจ  ด้านวิชาการ  และด้านบริหารรัฐชาติเป็นสำคัญ  ในประเทศไทยของเราจะเห็นได้ชัดว่า ยุคแรกของการจัดการศึกษาเน้นในเรื่องของทักษะเป็นพิเศษในการจัดตั้งสถาบันการศึกษา   เช่น การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์  มหาวิทยาลัยกองทัพบก  กองทัพเรือ  วิทยาลัยช่างสำรวจ  วิทยาลัยช่างเกษตรกรรม  โรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น  นี่เป็นการศึกษาเน้นทักษะที่จะมาทำงานของภาครัฐเป็นหลัก  มีโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  จนถึงขนาดจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ในปี 2460  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง 2476 มหาวิทยาลัยมหิดล เกษตรศาสตร์ 2486  และมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ที่เชียงใหม่ ในปีเดียวกันเป็นต้น
                เมื่อเปลี่ยนจากประเทศอาณานิคมมาเป็นเอกราชแล้ว  อาเซียนตกอยู่ในยุคสงครามเย็น  สงครามเย็นก็เป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมือง  เพราะฉะนั้นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้มแข็งทางการเมืองก็เป็นแนวนโยบายของหลายประเทศในขณะนี้  และก็เป็นปัจจัยสำคัญ  ในยุคสงครามเย็นเป็นการต่อสู้กันเองในระหว่างลัทธิ  ทำให้ขาดช่วงการพัฒนาทางการศึกษา  ขาดการเปลี่ยนแปลงตามกระแสต่าง ๆ จนถึงยุคโลกาภิวัตน์  ตัวอย่างที่เห็นชัดในการขาดช่วง หรือแนวคิดที่ไม่ได้เน้นถึงการพัฒนาการศึกษาในประเทศอาเซียน  เช่น ประเทศพม่าในช่วงที่เกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย ปี 1988  คณะปฏิวัติได้พูดในแถลงการณ์ชัดเจนเลยว่า  จะยังไม่ส่งเสริมเรื่องการศึกษาและการสาธารณสุข   เพราะฉะนั้นประเทศพม่าจึงล้าหลังในเรื่องของการศึกษา   ต้องไปดูเรื่องการศึกษาว่า เขาทำอย่างไร ตั้งแต่เมื่อเนวินขึ้นยึดอำนาจในปี 1962  เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา  คือในระบอบสังคมนิยมก็จะมีลักษณะเป็นแบบนี้ เพราะใครฉลาดกว่าก็จะยุ่งยาก  จนถึงปี 1974  ประเทศพม่าประกาศว่าไม่ให้เรียนภาษาอังกฤษ  มีการเรียกร้องใหม่ในปี 1988  ก็ประกาศว่า จะไม่ส่งเสริมเรื่องการศึกษา และการสาธารณสุข  จนถึงปัจจุบันนี้ 20 ปีกว่า แล้วก็ยังไม่พัฒนาขึ้น
                และต้องไปดูการศึกษาของแต่ละประเทศ  เช่น ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ได้รับเอกราชการแยกตัวออกมาจากการเป็นสมาพันธ์มาเลเซียในปี 1965  ก็เป็นการศึกษาเพื่อสร้างชาติ  ประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ปี 1960  แทบจะไม่มีคนที่มีความรู้จบมหาวิทยาลัยมาทำงาน  ประเทศฟิลิปปินส์  ตั้งแต่ปี 1945   ถูกครอบงำโดยระบบอเมริกันทั้งหมด   เหล่านี้น่าสนใจ ถ้าเราต้องการดูการศึกษาในอาเซียนว่าทำอย่างไร  ประเทศบรูไน ซึ่งเริ่มเข้ามาเป็นประเทศสมาชิกในปี 1995 กับอาเซียน  เป็นประเทศที่เข้มข้นทางศาสนา ประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 1945  อยู่ในยุคของซูกาโน่ เป็นยุคที่ชาตินิยมเข้มข้นมาก  และหลักปัญจสีละ 5 ข้อของเขาไม่ได้มีเรื่องของการศึกษาเลย  จนมาถึงยุคของซูฮาโต้ ๆ ก้าวลงจากอำนาจในปี 1998  การพัฒนาด้านการศึกษาก็ยังไม่พัฒนามาก  แต่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่น่าสนใจมากในอาเซียนในขณะนี้  พอหลังจากซูฮาโต้ก้าวลงจากอำนาจในปี 1998  การพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย  และการสร้างสังคมประชาธิปไตยก้าวหน้าไปมาก   จนนับได้ว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นพี่ใหญ่ของอาเซียน
                ประเทศเวียดนามก็เป็นประเทศที่น่าสนใจมาก  การคัดเลือกผู้นำของประเทศเวียดนาม และการนำนโยบายในเรื่องการพัฒนาการศึกษา  จนทำให้เรารู้สึกว่าประเทศเวียดนามเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของประเทศไทย  แล้วก้าวหน้ากว่าประเทศไทย เขาทำกันอย่างไร
                ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงชี้ให้เห็นคร่าว ๆ ว่าการจัดการศึกษาในอาเซียนยังไม่ได้พัฒนาไปได้ดีเท่าที่ควร  ในประเทศไทย ยังต้องมาปฏิรูปการศึกษากันในรอบสอง  การพัฒนาการศึกษาในอาเซียนโดยรวม เราจะเห็นแนวโน้ม และแนวทางที่อาเซียนจะดำเนินการด้านการศึกษาในกรอบและในแนวทางของสหประชาชาติเป็นสำคัญ  เราซึ่งศึกษาทางการศึกษาอาจจะเคยได้ยินแนวทางที่องค์การสหประชาชาติกำหนด  และหลายประเทศยึดถือ  และเกือบทุกประเทศในอาเซียนนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษา คือเรื่อง Education For  All  ในหลายประเทศในอาเซียนนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา
                Education For  All  เราจะเห็นว่าเน้นในเรื่องคุณภาพ  ความเสมอภาค  การจัดการด้านคุณภาพ การจัดการด้านทรัพยากรทางการศึกษา และเรื่องของการวางแผนทางการบริหาร  3 – 4 ประการที่กล่าวมานี้  หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนนำมาเป็นแนวทางปฏิรูปการศึกษาในประเทศของตน ๆ    ประเทศไทยก็ใช้หลักการเหล่านี้เหมือนกัน
                ประเทศที่น่าสนใจก็คือประเทศเวียดนาม ซึ่งเขาจัดทำการศึกษากันอย่างไร  ประเทศเวียดนามก็ไม่ได้แตกต่างจากประเทศทั่วไป  แต่ลักษณะพิเศษของประเทศเวียดนามทำให้เขาก้าวไปได้เร็ว  และจะเป็นคู่แข่งของเราในอนาคตต่อไป  ประเทศเวียดนามนั้นต้องอยู่ในแอกอาณานิคมของชาติอื่นมานาน  ต้องใช้เวลาถึง  30  ปี  ในสนามรบเพื่อแยกตัวเองออกมาเป็นอิสระอย่างเช่นปัจจุบัน  เริ่มแรกเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945  ก็ยังอยู่ในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส  จนสามารถรบชนะฝรั่งเศสในศึกเดือนเดียน เมียน ฟู  ในปี 1954  ผลจากการชนะศึกเดือน เดียน เมียน ฟู ทำให้เวียดนามแยกออกเป็น 2 ประเทศ คือเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้  จากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้สงครามเย็นที่มีการสู้รบต่อต้านลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และลัทธิเสรีประชาธิปไตย ที่มีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ  เพราะฉะนั้นสงครามเวียดนามที่เกิดขึ้น  หลังจากแยกตัวออกมาเป็นเวียดนามเหนือ เวียดนามใต้  เพื่อที่จะรวมตัวกันได้นั้น ต้องใช้เวลาอีก  20 ปี   จนมาชนะศึกเวียดนามกับประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ในปี 1975   แต่ก็ยังเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสู้รบกับศึกเขมรแดงในประเทศกัมพูชาอีก  จนกระทั่งประเทศจีนทำสงครามขับไล่เวียดนามก็ต้องถอนกำลังทหารออกมาในปี  1989  
                ปี  1989  เป็นปีที่สงครามเย็นเริ่มสิ้นสุด  จากนั้นผู้นำของประเทศเวียดนาม ซึ่งสามารถรวมตัวกันได้ก็ประกาศนโยบาย “โด่เหมย”  คือการเปลี่ยนแปลงใหม่ของประเทศเวียดนาม  จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 21 ปีแล้ว และก็เป็นเวลาช่วงเดียวกับที่เติ้งเสียวผิงประกาศ 4 ทันสมัย  นี่เป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำแต่ละประเทศที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  เริ่มตั้งแต่สงครามเบอร์ลิน  กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย  ในวันที่ 9  เดือนพฤศจิกายน  ปี 1989  นั่นเป็นสัญลักษณ์สิ้นสุดสงครามเย็น นโยบายโด่เหมยก็ประกาศในช่วงนั้น
                ประเทศไทยเองก็ไม่ได้ช้าไปกว่าประเทศอื่น  ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองในขณะนั้น  ในช่วงนั้นอยู่ในช่วงรัฐบาลของชาติชาย  ชุณหะวัน  ในปี 2532  ชาติชาย ชุณหะวัน ประกาศเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า  รองรับโลกาภิวัตน์ที่ก้าวเข้ามาเหมือนกัน  สาเหตุที่โด่เหมยของเวียดนามทำได้เร็ว 1. เปิดประเทศ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียนในปี 1996  2.เปิดให้มีการลงทุน  การเปิดการลงทุนทำให้มีการ Transfer technology ฐานการผลิตแรงงาน ซึ่งเขาได้เปรียบ นี้เป็นส่วนช่วยเสริมเข้ามา 3. ปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมให้เป็นเศรษฐกิจสังคมนิยมที่นำโดยการตลาด  และที่สำคัญเขาเร่งรัดพัฒนาการเกษตร ดังนั้นเวลานี้ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ส่งข้าวแข่งรองจากประเทศไทย และจะก้าวนำประเทศไทยไปในอนาคต  4. พัฒนาการศึกษา  เพื่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงหลังจากรับเอกราชที่ผ่านมา   เริ่มแรกคนเวียดนามพูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลยเพราะอยู่ใต้ฝรั่งเศสมานาน  แต่ตอนนี้พูดภาษาอังกฤษดีขึ้นมาก  และขณะนี้เขาพัฒนาด้านการพัฒนาคน พัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่ชุมชนโลกแล้ว  และเขาประกาศแล้วว่าจะเป็นประเทศสังคมอุตสาหกรรม
                เพราะฉะนั้น การเปิดประตูสู่อาเซียนอย่างประเทศเวียดนาม ก็เหมือนการเปิดประตูเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เข้าสู่ความเป็นสากลมีการแข่งขัน และการแข่งขันก็ต้องเร่งสร้างสมรรถนะความสามารถของประเทศให้ดีขึ้น  ฉะนั้นการสร้างสมรรถนะต้องเร่งพัฒนาการศึกษา  ประเทศเวียดนามทำให้เห็นว่าต้องพัฒนาการศึกษาให้เข้มแข็ง  สร้างความรู้เฉพาะทาง สนองตอบต่อตลาดแรงงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  ที่น่าสนใจคือตลาดการศึกษา ที่ประเวียดนามได้เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนด้วย
                ฉะนั้นในกลุ่มอาเซียน การศึกษาจึงเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่สำคัญในอนาคต  เพราะว่าเมื่ออาเซียนร่างกฎบัตรของอาเซียนขึ้นมาแล้ว จะมีหลักการเรื่องรวมอาเซียนให้เป็น Asian community จะเห็นว่าในการสร้างสังคมวัฒนธรรม  การศึกษาเป็นตัวร้อยรัดที่สำคัญ  ทุกประเทศก็เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ฉะนั้นการสร้างหลักสูตรเรื่องอาเซียนในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเรา เริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น
                การเปิดประตูสู่อาเซียนก็จะทำให้มองเห็นภาพกว้างๆ อย่างนี้   ในเรื่องการศึกษา เรื่องการเปิดโรงเรียนสู่สากลมันเป็นการมองไปยังอนาคตการศึกษา  และจะได้กำหนดทิศทางให้เป็นไป  เพราะฉะนั้นกรอบความคิดที่จะเปิดโรงเรียนสู่สากลมันถูกเงื่อนไขของโลกาภิวัตน์เป็นตัวกำหนดที่สำคัญ   บนพื้นฐานที่กำหนดนี้ ถ้าการศึกษาไม่สามารถสร้างสมรรถนะในการสร้างความสามารถตามกระบวนโลกาภิวัตน์แล้ว เราก็จะถูกทิ้ง  เพราะเราตามเขาไม่ทัน ในเรื่องการแข่งขันของโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นคือนวัตกรรม  Innovation  ตัวนี้ซึ่งเป็นการแข่งขันให้เห็นในยุคโลกาภิวัตน์นี้ยกตัวอย่างง่าย ๆ  มือถือนี้ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมาก เราจะเห็นว่าประเทศที่สร้างนวัตกรรมที่สำคัญใหม่ขึ้นมาได้ และสามารถแข่งขันกับนานาชาติในระดับต่างได้ ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ไม่ใหญ่โตเลย สามารถสร้างนวัตกรรมมือถือมาแข่งขันกับนานาชาติได้  ในข้อนี้เราคงจะต้องคิดว่าถ้าจะสร้างสมรรถนะในความสามารถที่จะแข่งขันกับใครได้หรือไม่  เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องทำอย่างไรที่จะสร้างตัวนวัตกรรมที่จะสู้กับเขาได้
                นวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ R and D  การวิจัยและการพัฒนา ซึ่งในหลายประเทศลงทุนในเรื่องนี้เป็นอันมากที่จะสร้างมหาวิทยาลัยให้อยู่ในระดับโลก หรือนวัตกรรมที่จะสู้กับเขาได้ เพราะฉะนั้นไปดูประเทศที่เขาพัฒนาแล้วสามารถสร้างนวัตกรรมไปแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ในขณะนี้ได้ เราจะเห็นตัวหนึ่งซึ่งผมเอามาอธิบายอยู่เสมอว่า เราต้องเน้นสิ่งที่เรียกว่า “STEM Field  ถ้าหากว่าจะจัดการศึกษาไปสู่สากลและสร้างนวัตกรรมที่จะสู้กับเขาได้ S  คือ วิทยาศาสตร์ T คือ เทคโนโลยี E ก็คือ Engineering  และ M ก็คือ Management เพราะฉะนั้นในสายวิทยาศาสตร์จะต้องเน้นไปที่ STEM Field ตัวนี้ให้มาก เพราะทั้งสี่ตัวนี้เป็นตัวที่จะสร้าง Innovation  ก็คือจะเป็นตัวที่จะนำการแข่งขันไปสู้กับเขาได้ มือถือของฟินแลนด์ก็เป็นตัวอย่าง และถ้าจะพัฒนาการศึกษาก้าวไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์แข่งขันกับอาเซียนด้วยกันให้ได้ในแง่ของสังคมศาสตร์ STEM Field ก็ยังใช้ได้อีก  S ในแง่ของสังคมศาสตร์คือ Skill  ทักษะ  T  คือ Technology เทคโนโลยี  E  คือ Ethicจริยธรรมและจรรยาบรรณแล้วตัว M ในสายวิทยาศาสตร์จะเป็น  Mathematic แต่ในสายสังคมศาสตร์จะเป็นตัว Management   STEM Field ในสายวิทยาศาสตร์จะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า  Capacity building สร้างความสามารถอันให้เกิดขึ้นในอันที่จะไปแข่งขันกับเขาในยุคโลกาภิวัตน์ได้
                เพราะฉะนั้นตัวนี้อาจจะไม่ใช่โมเดลแต่เป็นตัวที่เราจะต้องคิดแหละว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาใช้ตัว STEM Field ตัวนี้มาเป็นหลักในการพัฒนาการศึกษาของเขาอย่างเข้มแข็ง แต่ว่าจะเข้มแข็งได้นั้นภาครัฐหรือว่าภาคไหนก็ตาม จะต้องทุ่มเทในเรื่อง R and D อย่างเต็มที่  และมีหลายเรื่องที่จะต้องทำ  การที่จะสร้างมหาลัยได้นั้นเราจะต้องรวบรวมอัจฉริยะทั้งหลายเข้ามาอย่างไรถึงจะยกระดับมหาวิทยาลัยของเรา แล้วทำ STEM Cell นี้สู้กับเขา 1.หมั่นสร้าง Innovation  2. หมั่นสร้าง Capacity building   ในการที่จะแข่งขันกับเขาได้   สิ่งที่เรียกว่าแข่งขันคือ ไปตอบสนอง ไปเผชิญหน้าไปแก้ปัญหา สิ่งที่เรียกว่าเป็นการท้าทายในโลกปัจจุบันเป็น Global Challange   โกลเบิลชาเล้นที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง 1. เรื่องการลดความยากจน 2. เรื่องการลดโรคภัยไข้เจ็บ 3. เรื่องการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน 4. เรื่องการควบคุมการแพร่ขยายของนิวเคลียร์ 5. เรื่องการต่อสู้กับการก่อการร้าย 6. เรื่องการลดโลกร้อนและการลดภาวะมลพิษ
                เพราะฉะนั้นการพัฒนาการศึกษาต้องสามารถท้าทายกับเรื่องเหล่านี้ให้ได้ นี้เป็นตัวหลักๆเท่านั้น แต่ว่าที่จะสร้างการศึกษาให้เผชิญกับการท้าทายของโลกอย่างนี้ได้   ไม่ใช่แต่ในเรื่องของการรู้ทักษะ รู้เทคโนโลยี  มี Management ที่เข้มแข็ง  หรือมี Mathematic  ที่เข้มแข็งเท่านั้น   แต่ว่าทำอย่างไรการศึกษาจะทำให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  ความคิดเชิงวิเคราะห์วิจัยที่ดี  ที่เรียกว่า  Better  Critical  Thinking  นี้เป็นหลักสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น STEM  Cell สาขาไหนก็ตาม
                และอันสุดท้ายที่สำคัญคือ  Language Skill   ไม่เช่นนั้นแล้วจะตามไม่ทัน  เพราะฉะนั้นการเปิดประตูสู่สากล ไม่ว่าเป็นอาเซียนหรือโกลเบิลชาเล้นท์  หรือยุคโลกาภิวัตน์   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ถ้าไม่มีองค์ประกอบเหล่านี้แล้วจะตามอาเซียนไม่ทัน  ฉะนั้นท่านนักศึกษาซึ่งมีส่วนในการกำหนดนโยบาย  หรือมีส่วนจะต้องพัฒนาการศึกษาต้องคิดถึงเรื่องเหล่านี้ ว่าจะทำอย่างไร มีมาตรการอะไรบ้าง
                ขอสรุปว่า ในความคิดที่จะนำโรงเรียนสู่สากลอย่างนี้  ของประเทศไทยดำเนินการไปถึงไหน  สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรานั้น เป็นประเภทที่เรียกว่า จ่ายครบจบแน่ หรือเปล่า  ถึงเวลาที่เราควรจะปรับเปลี่ยน  ทำการศึกษาของเราสู่สากลในยุคโลกาภิวัตน์  ซึ่งประเทศเราไม่ทำก็จะไม่ทันประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน 

สรุปการบรรยาย"เปิดประตูสู่อาเซียน" ดร.ผดุงชาติ


สรุปคำบรรยาย
เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล
โดย ดร.ผดุงชาติ  สุวรรณวงศ์
ความนำ
                ชื่อหัวข้อสัมมนาในวันนี้ เปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล มีความหมายดีมาก แต่ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องอาเซียนกันยังน้อย ดูจากการสำรวจความรู้เรื่องอาเซียน ปรากฏว่า นักศึกษาประเทศไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ส่วนประเทศที่มีความรู้เรื่องอาเซียนมากที่สุดคือประเทศลาว เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเราไม่รู้จักตัวเอง ไม่พัฒนาตัวเอง และไม่ยอมรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน อีกประการหนึ่ง เพราะเราเสื่อมคุณธรรม และการศึกษาตกต่ำ รวมไปถึงเสื่อมทั้งระบบ
                ดังนั้น หากต้องการปรับปรุงพัฒนาตัวเองแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรก ควรจัดเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ได้ผลภายใน 4 ปี

เปิดประตูสู่อาเซียน
                อาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Nations หรือ ASEAN) เป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ของประเทศภูมิรัฐศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อปี พ.ศ.2510 ครั้งแรกมี 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยมีไทย ซึ่งมีท่านถนัด คอมันตร์ ถือว่าเป็นบิดาของอาเซียน เป็นผู้นำในเรื่องนี้ ณ ปัจจุบันอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ คือ
1. ให้ความเคารพแก่เอกราชอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิ์ปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดน และการบังคับขู่เข็ญ
3. จะไม่เข้าไปยุ่งกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่นๆ
4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกันเพื่อแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันมีกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 ทำให้อาเซียนมีศักยภาพคล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้น
อาเซียนมีหลัก (Pilar) อยู่ 3 ประการ คือ
1. ประชาคมความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Security Community)
2. ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Economic Community)
3. ประชาคมสังคมวัฒนธรรมของอาเซียน (ASEAN Socio-cultural Community)
อาเซียนมีความแตกต่างและความคล้ายคลึงกัน (Diversity and Convergence) ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดของประเทศและจำนวนประชากร (Size of the Country and Population)
2. ภาษาที่ใช้ (Language Used)
3. ระบบการเมือง (Political System)
4. เศรษฐกิจ (Economy)
5. ลักษณะโครงสร้างและระบบในระดับอุดมศึกษา (Structural and System Aspect in HE.)
6. ศาสนา (Religion)

เปิดโรงเรียนสู่สากล
                เมื่อรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว ต้องการเปิดโรงเรียนสู่สากล ควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
                1. ควรเน้นเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรก จัดเป็นวาระแห่งชาติ สอนทุกระดับ บางรายวิชาควรสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือจัดให้มี English Day เดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
                2. ควรจะมีหลักสูตรเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN Course) ในด้านต่างๆ เช่น วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ เป็นต้น
                3. ควรสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กร
    3.1 มีการแลกเปลี่ยนครูอาจารย์หรือนักเรียนนักศึกษา
    3.2 ติดต่อสื่อสารกันผ่าน Website
                   3.3 ร่วมมือกันจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆ เช่น Sport Festival, Music Festival, Academic Exhibition เป็นต้น
    3.4 ควรมีการนับหน่วยกิต (Credit) ในกรณีมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไปเรียนยังอีกประเทศหนึ่ง
                4.  การพัฒนาหลักสูตร ควรคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการ (Needs) ของประเทศไทยและประเทศอาเซียนด้วย
                เมื่อได้ศึกษาเรื่องอาเซียนแล้ว ควรมีการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างแน่นอน