ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ

ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ ยินดีรับใช้ "ใครมีอะไรดีมาแลกมาเปลี่ยน ความรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ยิ่งได้ครับผม" บ็อกๆๆๆๆ

คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปการบรรยาย"เปิดประตูสู่อาเซียน" ดร.ผดุงชาติ


สรุปคำบรรยาย
เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล
โดย ดร.ผดุงชาติ  สุวรรณวงศ์
ความนำ
                ชื่อหัวข้อสัมมนาในวันนี้ เปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล มีความหมายดีมาก แต่ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องอาเซียนกันยังน้อย ดูจากการสำรวจความรู้เรื่องอาเซียน ปรากฏว่า นักศึกษาประเทศไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ส่วนประเทศที่มีความรู้เรื่องอาเซียนมากที่สุดคือประเทศลาว เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเราไม่รู้จักตัวเอง ไม่พัฒนาตัวเอง และไม่ยอมรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน อีกประการหนึ่ง เพราะเราเสื่อมคุณธรรม และการศึกษาตกต่ำ รวมไปถึงเสื่อมทั้งระบบ
                ดังนั้น หากต้องการปรับปรุงพัฒนาตัวเองแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรก ควรจัดเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ได้ผลภายใน 4 ปี

เปิดประตูสู่อาเซียน
                อาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Nations หรือ ASEAN) เป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ของประเทศภูมิรัฐศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อปี พ.ศ.2510 ครั้งแรกมี 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยมีไทย ซึ่งมีท่านถนัด คอมันตร์ ถือว่าเป็นบิดาของอาเซียน เป็นผู้นำในเรื่องนี้ ณ ปัจจุบันอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ คือ
1. ให้ความเคารพแก่เอกราชอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิ์ปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดน และการบังคับขู่เข็ญ
3. จะไม่เข้าไปยุ่งกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่นๆ
4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกันเพื่อแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันมีกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 ทำให้อาเซียนมีศักยภาพคล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้น
อาเซียนมีหลัก (Pilar) อยู่ 3 ประการ คือ
1. ประชาคมความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Security Community)
2. ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Economic Community)
3. ประชาคมสังคมวัฒนธรรมของอาเซียน (ASEAN Socio-cultural Community)
อาเซียนมีความแตกต่างและความคล้ายคลึงกัน (Diversity and Convergence) ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดของประเทศและจำนวนประชากร (Size of the Country and Population)
2. ภาษาที่ใช้ (Language Used)
3. ระบบการเมือง (Political System)
4. เศรษฐกิจ (Economy)
5. ลักษณะโครงสร้างและระบบในระดับอุดมศึกษา (Structural and System Aspect in HE.)
6. ศาสนา (Religion)

เปิดโรงเรียนสู่สากล
                เมื่อรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว ต้องการเปิดโรงเรียนสู่สากล ควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
                1. ควรเน้นเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรก จัดเป็นวาระแห่งชาติ สอนทุกระดับ บางรายวิชาควรสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือจัดให้มี English Day เดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
                2. ควรจะมีหลักสูตรเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN Course) ในด้านต่างๆ เช่น วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ เป็นต้น
                3. ควรสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กร
    3.1 มีการแลกเปลี่ยนครูอาจารย์หรือนักเรียนนักศึกษา
    3.2 ติดต่อสื่อสารกันผ่าน Website
                   3.3 ร่วมมือกันจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆ เช่น Sport Festival, Music Festival, Academic Exhibition เป็นต้น
    3.4 ควรมีการนับหน่วยกิต (Credit) ในกรณีมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไปเรียนยังอีกประเทศหนึ่ง
                4.  การพัฒนาหลักสูตร ควรคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการ (Needs) ของประเทศไทยและประเทศอาเซียนด้วย
                เมื่อได้ศึกษาเรื่องอาเซียนแล้ว ควรมีการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างแน่นอน

2 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดเลยท่านพี่ เห็นด้วยอย่างยิ่งยวด

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ27 กันยายน 2554 เวลา 05:59

    ขอขอบคุณครับผมกำลังศึกษาอยู่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน และกำลังจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียน ให้กับเด็กนักเรียนหรือผู้สนใจได้ศึกษา บางที่อาจต้องอ้างอิงข้อมูลจาก blog ของท่านด้วย

    ผอ.หาษบูเลาะ สาแม

    ตอบลบ