ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ

ยินดีต้อนรับสู่ สุรพงศ์บ็อกๆ ยินดีรับใช้ "ใครมีอะไรดีมาแลกมาเปลี่ยน ความรู้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ยิ่งได้ครับผม" บ็อกๆๆๆๆ

คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม

ผลการประชุมกลุ่ม ระดมสมองเรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน  เปิดโรงเรียนสู่สากล
1. พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นนานาชาติ
2. พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล
3. ฝึกทักษะการคิดที่มีคุณภาพ
4. เน้นความเป็นไทย
5. ภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
---------------------------------------------------------
กลุ่มที่ 1  พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นนานาชาติ
ตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO โดยในศตวรรษที่ 21 ได้กำหนดให้ทุกประเทศได้มีการพัฒนาและใช้หลักสูตรการศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้ Learn to know , Learn to be , Learn to do, เพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ และ Learn to live together  เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลโลก  จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสมชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทักษะกระบวนการนาหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทางหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ
โรงเรียนมาตรฐานสากลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกโดยมุ่งหวังที่จะให้โรงเรียนได้พัฒนาต่อยอดคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะ ทักษะและความรู้ พื้นฐานที่จาเป็นในการดำรงชีวิต การพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติอันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้จะต้องพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิด  1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสาร 2  ภาษา  3. ล้ำหน้าความคิด  4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์  5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อ สังคมโลก
โรงเรียนจึงควรใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงสภาพความพร้อม จุดเน้น ของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนสาระที่เป็นสากล จึงสามารถจัดได้ทั้งเป็นหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานทั้ง 8 สาระ เช่น ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge: TOK) ความเรียงชั้นสูง (Extended- Essay) โลกศึกษา(Global Education) สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ (CAS: Creativity, Action, Service) สามารถนำไปในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในส่วนของ ชุมนุม ชมรม หรือ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2  อีกหนึ่งภาษาสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลายและควรส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่ 2 และ 3 คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นที่เหมาะสม อย่างจริงจัง  โดยต้องเริ่มตั้งแต่อนุบาล-มหาวิทยาลัย  และต้องให้ความสำคัญกับสื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาต่างประเทศมากขึ้น  รวมทั้งต้องพัฒนาครูให้ก้าวไป สู่ มาตรฐานสากลด้วย

กลุ่มที่ 2 พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล
รูปแบบการบริหารและพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล  มีหลายรูปแบบและมีแนวทางการบริหารที่หลากหลาย อาทิ
1. รูปแบบโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) เป็นโรงเรียนในโครงการที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมีความมุ่งหวังไว้ว่า นักเรียนมีศักยภาพ  เป็นพลเมืองโลก  โดยมีโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศรวม 500 โรงเรียน ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในการต่อยอดให้บรรลุวัตถุประสงค์ โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 ที่ประกาศโดยสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ประกาศเจตนารมณ์ข้อหนึ่งไว้ว่า โรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ(TQA) เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณการเชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมศาสนา และการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
2. รูปแบบโรงเรียนสองภาษา (Bilingual School) เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะทางภาษาของผู้เรียน และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความผสมผสานเป็นสากล
3. รูปแบบโรงเรียนนานาชาติ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบโดยใช้หลักสูตร
ต่างประเทศหรือหลักสูตรต่างประเทศ ที่ปรับรายละเอียดเนื้อหาวิชาใหม่หรือหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเองที่ไม่ใช่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยไม่จำกัด  เชื้อชาติ  ศาสนา  และไม่ขัดต่อศีลธรรมความมั่นคงของประเทศ
            4. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนแบบบูรณาการหลากหลายภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และอื่นๆ เป็นต้น โดยแทรกภาษาต่างๆ ไปกับบทเรียน บทสนทนา การทักทายกันในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
สรุป การเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปัจจุบันได้มีโรงเรียนเอกชนในประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว ในภาคส่วนราชการก็ได้มีโรงเรียนมาตรฐานสากลขึ้นมา ในแง่การบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะสามารถพัฒนาโรงเรียนให้เข้าสู่มาตรฐานสากลได้หรือไม่ อีกทั้งเรื่องบริหารจัดการของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ต้องระดมสรรพกำลังทั้งกำลังคน กำลังทรัพยากรทั้งมวล ให้ครูและผู้บริหารเข้าใจระบบการบริหารตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานแห่งชาติ(Thailand Quality Award : TQA) และเข้าใจทฤษฎีการบริหารองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) สามารถนำตัวชี้วัดต่างๆ มาใช้ในบริหารจัดการโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 3 ฝึกทักษะการคิดที่มีคุณภาพ
ทำอย่างไรให้เด็กคิดอย่างมีคุณภาพ
1.       การใช้สถานการณ์จำลอง
2.       การใช้วรรณกรรม เช่น นวนิยาย
3.       การให้เด็กรู้จักตั้งคำถาม
4.       ต้องส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
5.       ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
6.       ใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน
7.       ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา
8.       ฝึกการคิดโดยใช้ความเรียง
  สรุป  สิ่งที่ต้องเน้นเกี่ยวกับทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ คือ
-          กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
-          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
-          ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน

กลุ่มที่ 4  เน้นความเป็นไทย
ในการปลูกฝังคุณธรรมให้กับเยาวชน  คือนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ นั้น  ทางสมาชิกกลุ่ม  ได้คิดหาแนวทางเพื่อปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน  เพื่อที่จะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดประตูสู่อาเซียน  เปิดโรงเรียนสู่สากล  เพื่อให้เยาวชนของชาติได้เตรียมรับกับอิทธิพลของวัฒนธรรมของต่างประเทศ ที่จะหลั่งไหลเข้ามา เมื่อมีการเปิดกว้างในเรื่องของการศึกษามากยิ่งขึ้น  แต่เพื่อให้เยาวชนของเรานั้น สามารถที่จะรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามาได้  แต่ก็ต้องคง และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติไว้ด้วย   จากการระดมความคิดของสมาชิกกลุ่ม ก็ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้
1.       เอกลักษณ์ไทย
1.1  การแต่งกาย  การแต่งกายของไทยเรานั้น เราจะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนคนไทยแท้ ๆ ถ้าเป็นหญิงสาวก็จะนุ่งผ้าถุงเป็นหลัก   ซึ่งการนุ่งผ้าในลักษณะอย่างนี้ทำให้มารยาททางกายก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม  จะทำอะไรก็ไม่สามารถที่จะทำได้รวดเร็วหนัก  เป็นการสร้างอุปนิสัยที่ไม่หุนหันพลันแล่น  เป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่อารมณ์เย็น เป็นต้น 
1.2  การใช้ภาษาไทย  ภาษาไทยของเราก็มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตัวอักษร  การออกเสียงหรือความไพเราะทางด้านโคลงฉันท์ กลอนต่าง ๆ  จะมีอัตตลักษณ์ในเรื่องของแบ่งชนชั้นได้อย่างชัดเจน  เช่น เมื่อต้องใช้กับพระมหากษัตริย์  หรือกับพระสงฆ์ก็มีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกัน  และคำพูดของคนไทยนั้นยังสามารถบ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้พูดได้อีกด้วย  คือถ้าเป็นคนที่มีสัมมาคารวะก็จะพูดจาไพเราะ  ไม่ว่าจะพูดจากับใครก็แล้วแต่  ถ้าคนที่ไม่มีสัมมาคารวะ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน การที่จะพูดจาได้ไพเราะ หรือที่เราเรียกว่า พูดให้มีหางเสียงนั้นก็จะเป็นเรื่องยาก  ดังนั้นควรหันมาให้ความสนใจกับการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย  เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักในภาษาของประเทศไทย
1.3  อาหารไทย  เราจะเห็นว่าในสมัยก่อนเราจะมีกิจกรรมในครอบครัวทำกันอย่างมากมายทีเดียว  ครอบครัวของคนไทยที่อยู่ตามชนบทจะต้องทำอาหารกินกันเอง  การที่จะซื้อกับข้าวมาทานกันนั้นเป็นเรื่องยาก   เมื่อจะต้องทำกับข้าวกินกันเอง ก็ต้องมีคนมาช่วยกันทำ ยิ่งครอบครัวไหนมีลูกหลายคน  ตอนเย็นเมื่อถึงเวลาทำอาหารก็ต้องมาช่วยกันทำ  เช่นจะทำแกงอะไรซักอย่าง ก็ต้องให้พ่อแม่มาเป็นผู้ควบคุม  คอยบอกส่วนผสม แต่คนที่ลงมือปฏิบัติก็ต้องเป็นลูก ๆ  ดังนั้นอาหารไทยจึงสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น  อาหารไทยก็จัดเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นไทย  มีวัฒนธรรมการกินที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในครอบครัว  ประเด็นนี้ก็จะทำให้คุณธรรม และจริยธรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของชาวไทยนั้นมั่นคงมากยิ่งขึ้น
2.  วัฒนธรรมประเพณี
 2.1  ลอยกระทง  ประเพณีลอยกระทง  ในคติความเชื่อของคนไทยนั้นเป็นการขอขมา หรือขอโทษแม่น้ำคือพระแม่คงคา ที่เราอาจจะเคยทำอะไรไม่ดีลงในแม่น้ำ  อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  ประเพณีลอยกระทงนี้ ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของแม่น้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่ให้ความสนใจกับประเพณีลอยกระทงนี้ แสดงว่ายังมีความกตัญญูกตเวที  เป็นกลอุบายที่ทำให้เราคิดถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ธรรมชาติในทุก ๆ สิ่งว่ามีคุณประโยชน์กับเรา  ให้ชีวิตเรา  ให้อาหารแก่เรา เราควรต้องมีการกตัญญูกตเวที  ให้ความเคารพ  นี่คือการสอนให้รู้จักอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ และจะทำให้เรามีความสุขในการดำเนินชีวิต 
2.2   แห่เทียน  ประเพณีแห่เทียน ก็เป็นการแสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชนที่ต้องมีใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะสร้างสรรค์เทียนให้มีความสวยงาม เพราะต้องใช้ทั้งกำลังกาย และกำลังสติปัญญาในอันที่จะทำให้เทียนมีความสวยงาม  และต้องนำไปถวายไว้ที่วัด  เป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม อีกทั้งยังเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา  ทำให้เกิดความสามัคคีทั้งบ้านและวัด  ให้พระศาสนาเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจของเยาวชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

3. สถาบันชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์ 
ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่า เด็กไทยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศนั้นมาก  จนทำให้ความรู้สึกรักในประเทศชาตินั้นหายไป  อะไรที่เป็นของไทย ของคนไทย  เยาวชนไทยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย  นั่นเป็นเพราะว่าไม่ได้ปลูกฝังให้รักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ยกตัวอย่างเช่น  เด็กนักเรียนไทยไม่ได้ร้องเพลงชาติไทยด้วยตนเอง  เปิดจากแผ่นซีดีแล้วให้เด็กร้องตาม  เมื่อทำอย่างนี้มาก ๆ เข้า ก็จะทำให้เด็กไม่รู้สึกซาบซึ้งในบทเพลงประจำชาติ  ความรักชาติก็จะไม่บังเกิด เพราะไม่ได้รับรู้ถึงความยากลำบากของบรรพชนที่รักษาประเทศชาติไว้ได้   ปัจจุบันมีการยกเลิกการสวดมนต์ก่อนเข้าเรียน หรือในตอนเย็นวันศุกร์ ทำให้จิตใจของเด็กเกิดความห่างเหินจากพระศาสนาและมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาน้อยลง ทำให้จิตใจกระด้างมากขึ้น เพราะไม่กลัวผลของการกระทำไม่ดี
4. สังคมและสิ่งแวดล้อม (บ้าน วัด  โรงเรียน)
                ในอดีตวัด บ้าน โรงเรียน นั้นมีความสัมพันธ์เป็นวงเดียวกัน นั่นก็คือ  มีวัดเป็นศูนย์กลาง  บ้านจะทำกิจกรรมอะไรก็จะมาใช้พื้นที่ของวัด  และโรงเรียนก็อยู่ในเขตวัด  ซึ่งทำกิจกรรมอะไรก็จะใช้พื้นที่ของวัดเป็นส่วนมาก  ดังนั้นเมื่อทำกิจกรรมร่วมกันบ่อย ก็ทำให้วัด บ้าน และโรงเรียนเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ชุมชนก็มีความสงบสุขมากขึ้น จนบางครั้งที่มีเรื่องเกิดขึ้นในบ้าน  ก็สามารถระงับได้ที่วัด เพราะทุกคนให้ความสำคัญ ความเคารพต่อวัด  เมื่อวัดเข้ามาไกล่เกลี่ย ก็ยอมรับได้  นี่คือวงแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง วัด บ้าน และโรงเรียน
5.  ประวัติศาสตร์ชาติไทย
                ประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรานั้น  เมื่อเยาวชนรุ่นใหม่ได้อ่าน หรือวิชานี้ถูกบรรจุอยู่ในวิชาเรียนก็ทำให้เด็กได้ซึมซาบถึงความบากบั่นของบรรพบุรุษที่ได้รักษาประเทศชาติไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยมาจนถึงทุกวันนี้   แต่ปัจจุบันวิชาประวัติศาสตร์ไทยได้ถูกลบเลือนและไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างหลักสูตรให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียน จึงทำให้เด็กและเยาวชนขาดความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ชาติ ไม่รู้สึกรักและหวงแหนประเทศชาติเท่าที่ควรจะเป็น  ประวัติศาสตร์เรื่องบ้านบางระจันก็ดี  เรื่องท้าวย่าโมก็ดี และอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังความรักชาติให้เกิดในตัวของเยาวชนได้
                จากแนวความคิดที่ได้รวบรวมกันมานี้ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า  เมื่อเราจะเปิดประตูสู่อาเซียน เปิดโรงเรียนสู่สากล  เราย่อมได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกหรือประเทศต่างเข้ามาอย่างมากมาย  ถ้าเยาวชนของเรามีฐานแห่งความคิดไม่มั่นคง ย่อมทำให้โอกาสที่ประเทศไทยจะถูกวัฒนธรรมของชาติอื่นกลืนหายไปนั้นสูงมาก  เมื่อเป็นเช่นนั้น การปลูกจิตสำนึกในตัวของเยาวชนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมและจริยธรรมหรือความรักชาติ  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปได้ และเข้าสู่อาเซียนอย่างสง่างาม

กลุ่มที่ 5 ภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
1.   ปัญหาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
1.1 ด้านครู
                            - ครูไทย  จำนวนไม่เพียงพอ  สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา  ขาดความรู้  ประสบการณ์  ค่าใช้จ่ายในการจ้าง  ขาดประสบการณ์ด้านทักษะ การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน  ขาดสื่อการสอนที่น่าสนใจ  เน้นไวยากรณ์     
    - ครูต่างชาติ   (สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา และงบประมาณไม่เพียงพอ)
1.2. ด้านผู้เรียน   
    - ขาดทักษะในการสื่อสาร  พื้นฐานด้านภาษา
    - ทัศนคติด้านลบต่อภาษาว่าเป็นสิ่งยาก
    - ความกล้าแสดงออก
1.3  ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร 
   - ไม่สนับสนุนส่งเสริมด้านภาษา  เช่น จัดชั่วโมงการเรียนการสอนน้อยเพียง  1 ชั่วโมง /สัปดาห์
       1.4  ด้านผู้ปกครอง
-          ผู้ปกครองขาดการศึกษา ไม่สามารถสอนภาษาให้บุตรหลานได้
-          ขาดทุนทรัพย์สนับสนุนการเรียนให้กับบุตรหลาน
2.   แนวทางการพัฒนาและวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่มุ่งเน้นการสื่อสารที่มีคุณภาพ
1. ด้านครู
    - ผลิตครูสาขาภาษาต่างประเทศให้เพียงพอกับความต้องการและเป็นครูที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
    - อบรม  พัฒนาคุณภาพครู ด้านกระบวนการเรียนการสอน การจัดทำสื่อการเรียนรู้
    - ส่งเสริมให้ครูศึกษาดูงาน หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยจัดครูไปเรียนรู้ในประเทศต้นแบบของการใช้ภาษาที่แท้จริง
    - ให้ค่าตอบแทนสูง
    - เน้นประสบการณ์ตรง  โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริง  เช่น  จัดโครงการมัคคุเทศก์น้อยเพื่อบริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเพื่อพัฒนาภาษาในการสื่อสาร 
2. ด้านผู้เรียน
    - จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อภาษาอังกฤษ เช่น เพลง  เกม  ภาพ
    - ให้ความรู้พื้นฐานด้านภาษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล
3. ด้านการบริหารจัดการ
    - ควรให้ครูผู้สอนเป็นครูเจ้าของภาษา “  Native  Speaker

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น